เว็บไซต์ขององค์การบริหารส่วนตำบลแช่ช้าง มีการจัดเก็บคุกกี้ เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น กรุณาอ่าน นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy)
ให้ความยินยอม
องค์การบริหารส่วนตำบลแช่ช้าง
อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่
องค์การบริหารส่วนตำบลแช่ช้าง
apps
เมนูหลัก
เมนูทั้งหมด
เมนูหลัก (Main)
volume_down
ข่าวประชาสัมพันธ์
play_arrow
ประกาศราคากลาง
camera_alt
ภาพกิจกรรม
play_arrow
วิดีโอกิจกรรมหน่วยงาน
thumb_up
facebook
ข้อมูลหน่วยงาน
home
ข้อมูลหน่วยงาน
home
ยุทธศาสตร์-วิสัยทัศน์-และพันธกิจ
place
สถานที่ท่องเที่ยว
โครงสร้างส่วนราชการ
account_box
คณะผู้บริหาร
account_box
สมาชิกสภา
account_box
หัวหน้าส่วนราชการ
account_box
สำนักปลัด
account_box
กองคลัง
account_box
กองช่าง
account_box
กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
account_box
กองการศึกษา-ศาสนาและวัฒนธรรม
account_box
งานตรวจสอบภายใน
ข้อมูลข่าวสาร
volume_down
ข่าวประชาสัมพันธ์
play_arrow
ประกาศราคากลาง
play_arrow
ข้อมูลข่าวสารกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
info
ข้อมูลหน่วยงาน
home
ข้อมูลหน่วยงาน
home
ยุทธศาสตร์-วิสัยทัศน์-และพันธกิจ
place
สถานที่ท่องเที่ยว
developer_board
โครงสร้างส่วนราชการ
account_box
คณะผู้บริหาร
account_box
สมาชิกสภา
account_box
หัวหน้าส่วนราชการ
account_box
สำนักปลัด
account_box
กองคลัง
account_box
กองช่าง
account_box
กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
account_box
กองการศึกษา-ศาสนาและวัฒนธรรม
account_box
งานตรวจสอบภายใน
forum
ข้อมูลข่าวสาร
volume_down
ข่าวประชาสัมพันธ์
play_arrow
ประกาศราคากลาง
play_arrow
ข้อมูลข่าวสารกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
info_outline
ข้อมูลการติดต่อ
arrow_back_ios
กลับเมนูหลัก
ยินดีต้อนรับ เข้าสู่เว็บไซต์ องค์การบริหารส่วนตำบลแช่ช้าง อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่
place
สถานที่ท่องเที่ยว
วัดพระธาตุดอยงู
ประวัติพระธาตุดอยงู
“พระธาตุดอยงู” ตั้งอยู่หมู่ที่ ๒ ตำบลแช่ช้าง อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ สำหรับประวัติของพระธาตุดอยงูนี้ ขอแยกบอกเล่าเป็น ๒ ตอน คือ ตอนที่ ๑ จากการค้นพบในตำนาน “คัมภีร์ใบลาน” ซึ่งได้เขียนเป็นภาษาล้านนา (ตั๋วเมือง) โดยพระอธิการ สุรินโท อดีตเจ้าอาวาสวัดป่าเปา ต.แช่ช้าง อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ ในคัมภีร์ใบลาน ระบุไว้ว่าเขียนเสร็จเมื่อวันที่ ๑๐ เดือน กันยายน พ.ศ.๒๔๘๓ ตรงกับวันอังคาร แรม ๙ ค่ำ เดือน ๑๒ เหนือ ปีมะโรง จ.ศ.๑๓๐๒ ซึ่งคัมภีร์มีอยู่ที่วัดป่าเปา สามารถหาอ่านดูได้ฯ ตอนที่ ๒ เป็นการเล่าถึงการพัฒนาตอนหลังที่พอจะค้นคว้าหาได้ยัง หลักฐานที่มาเล่าได้ เมื่อก่อนหน้านี้ไม่อาจจะเล่าได้ เพราะคงจะมีการบูรณะปฏิสังขรณ์ ต่อเนื่องมาโดยตลอด จึงจะขอเล่าแต่เฉพาะหลักฐานที่พอจะหาได้เท่านั้น เชิญติดตามรายละเอียดได้ ดังต่อไปนี้ฯลฯ ตอนที่ ๑ (เนื้อหาจากคัมภีร์ใบลาน) ตามกาลตำนาน เล่าว่าดอยงูนี้มีสถานที่ชื่อเดิม เรียกว่า “ม่อนศิลา” แต่เดิมมาเป็นด่าดงไพรที่หนาแน่นไปด้วย ต้นไม้ใหญ่ – น้อย หลายพันธุ์ ชนิดมีอยู่มากมาย ในอดีตกาลนานมาแล้ว ในสมัยพระพุทธเจ้าพระนามว่า “พระนาคมนะ” ได้เสด็จป่านมาถึงที่นี้ และได้แสดงพระธรรมเทศนาโปรดแก่ “พญานาคราช องค์ใหญ่ พร้อมด้วยเทพบุตร – เทพธิดา ใหญ่น้อยทั้งหลาย” ในขณะที่พระองค์ได้เสด็จมาประทับที่ “พระธาตุดอยงู” หรือม่อนศิลา ใกล้ลำน้ำแม่ออน โดยประทับอยู่ที่นี่เป็นเวลา ๓ วัน และมีนกยูงทองมาเต้นลำแพนปีกถวายเป็นพุทธบูชาแด่พระองค์ แล้วทูลให้พระองค์ได้โปรดสัตว์ทั้งหลาย โดยเฉพาะเกี่ยวกับที่พักอาศัยของสรรพสัตว์ใหญ่ – น้อย ทั้งหลายที่อาศัยอยู่บริเวณนี้ พระองค์จึงทรงเนรมิตถ้ำหลวงให้เป็นโพรงใหญ่สำหรับเป็นที่อยู่อาศัยของหมู่สัตว์ป่า มีเป็นต้นว่า เสือ,สิงห์,กวาง และหมู่ฝูงวัวแดงฝูงใหญ่อาศัยอยู่ บรรดาสัตว์ทั้งหลายพอถึงเวลารุ่งเช้าต่างก็ออกไปหากินตามประสา พอตกเย็นก็กลับมาพักอาศัยอยู่ในถ้ำหลวงเป็นประจำทุกๆวัน มีอยู่วันหนึ่งฝูงหมู่วัวแดงได้ออกไปหากินตามปกติ สถานที่หากินเป็นประจำที่ร้องวัวแดง ซึ่งเป็นสถานที่ที่อุดมสมบูรณ์ได้ด้วยหญ้าและแขมอ่อนเขียวขจี ตอนขากลับมีนายพรานป่าคนหนึ่งได้ทำห้างร้าน เพื่อรอดักยิงฝูงวัวแดง พอจ่าฝูงเห็นนายพรานจึงบอกสัญญาณให้บริวารหยุด แล้วสอนคาถาให้บริวารทุกตัวท่องด้วยคำว่า นญฺจโห พทฺโธ พทฺธํ สรณํ อิติ พอวัวแดงทุกตัวกล่าวคาถานี้จบ ลูกธนูของนายพรานที่ยิงออกไปจึงไม่ถูกฝูงวัวแดงแม้แต่ตัวเดียว น่าอัศจรรย์มากไม่ถูกแม้กระทั่งต้นไม้ใหญ่ – น้อย ทั้งหลายโดยลูกธนูวิ่งลัดเลาะเข้าป่าลึกหายไปเหมือนมีชีวิตจิตใจ ทางด้านนายพรานเมื่อยิงไม่ถูกวัวสักตัวก็โมโหมากจึงถือธนูถูกับก้อนหินใหญ่ จนธนูแตกหักใช้การไม้ได้ ส่วนลูกธนูที่เหลือก็นำไปทุบกับต้นไม้จนย่อยยับหักไป และถุงสะพายที่ใส่ลูกธนูได้นำไปเผาไฟทิ้งเสียจนหมด พอได้สติขึ้นมาก็นั่งสงบสติอารมณ์สักพักใหญ่ พร้อมได้ระลึกนึกถึง บาป,บุญ,คุณ,โทษ ที่ได้ทำมาตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา นายพรานก็เลิกจากอาชีพพรานป่า แล้วหันมานับถือพระรัตนไตรเป็นที่พึ่งพร้อมด้วย พรหมวิหาร ๔ ถือศีล ๕ ศีล ๘ ตามลำดับ พระพุทธองค์เล่าจบ โปรดพระธรรมเทศนาจบแล้ว จึงถอด พระเกศา (เส้นผม) ไว้ให้พญานาคราชผู้เป็นใหญ่ที่ดูแลถ้ำแห่งนี้ เพื่อเป็นที่สักการะบูชาของพญานาคราช พญานาคราชจึงได้นำเอาขวดผาพร้อมลูกแก้วงามใสใส่รวมกับพระเกศา บรรจุไว้ในดอยลูกนี้ แล้วใส่ชื่อว่า “ม่อนศิลา” ดังนี้ฯ ต่อจากนั้นพระองค์ได้เสด็จไปที่ดอยผาตั้ง (ดอยยาว) และได้พบกับพระฤาษีตนหนึ่ง บำเพ็ญภาวนาที่นั่นจึงตั้งชื่อว่า ม่อนฤาษี พระฤาษีได้นำเอาคัณโฑน้ำมาถายแด่พระพุทธองค์ เมื่อพระพุทธองค์ฉันน้ำเสร็จแล้วได้ถอดพะเกศาให้ไว้เพื่อเป็นที่สักการะบูชา ต่อจากนั้นได้เสด็จไปถึงสระน้ำใหญ่ ชื่อว่า หนองขี้หม่า (ปัจจุบันชื่อหนองพระยาพรหม) แล้วทรงทำนายว่าอีกไม่นานในอนาคตจะมีผู้คนมาอาศัยอยู่มากมาย แล้วจึงเสด็จต่อไปจนถึงดอยง้มแม่ลาน เพื่อไปโปรด (ขุนธรรมิลัง) ผู้อยู่รักษาดอยง้ม ขุนธรรมิลังได้เตรียมจัดสถานที่ พร้อมกับบุตรและธิดา เพื่อต้อนรับพระพุทธองค์ด้วยปูลาดทำเป็นอาสนะ ในถ้ำแห่งนั้นแล้วถวายมธุบุปผาและอาหารพร้อมทั้งบุตร – ธิดา ก็พากันมาทำประทักษิณรอบพระองค์ ๓ รอบ พระองค์ถอด พระเกศา ไว้ในถ้ำเพื่อเป็นที่สักการะบูชา เพื่อเป็นบุญกุศลแก่ผู้ที่ได้สักการะเคารพบูชาต่อไป พระพุทธองค์ได้ตรัสว่า พระธาตุทั้ง ๓ แห่ง นั้คือ (ดอยงู) ม่อนผาตั้ง หรือม่อนฤาษี คือ (ดอยยาว) ม่อนดอยง้มหลวง คือ (ดอยง้ม) พอถึงเวลาเดือน ๙ เหนือขึ้น ๑๕ ค่ำให้พร้อมกันฟังเทศน์,บำเพ็ญ,สมาธิ,ภาวนา และสักการะบูชายังพระเกศาธาตุ เพื่อให้เกิดความเป็นบุญบารมี เป็นสิริมงคลแก่พุทธบริษัทโดยทั่วหน้า พร้อมทั้งให้ภาวนายัง พุทธานุสสติ ,ธัมมานุสติ,สังฆานุสสติ และอารัมมณานุสสติ ก็จักเป็นบุญกุศลหาที่สุดมิได้ นอกจากนั้น พระพุทธองค์ยังได้สอนให้ทุกๆคน ละทิ้งความชั่ว ทำแต่ความดี ทำจิตให้ผ่องใส “ละชั่ว ทำดี จิตใจ” สร้างสมบารมี เพื่อให้มีความเจริญก้าวหน้า และเป็นกำลังสำคัญในการส่งเสริมพระพุทธศาสนาให้วัฒนาสถาพรสืบไปฯ ตอนที่ ๒ สำหรับตอนที่ ๒ นี้ เป็นการเล่าถึงการบูรณะปฏิสังขรณ์ในตอนหลังนี้ เท่าที่รวบรวมได้จากเอกสารหลักฐานที่จะพอจะหาได้ช่วงที่ขาดหายไประหว่างตอนที่ ๑ และตอนที่ ๒ นั้น สันนิษฐานว่า คงจะมีการปรับปรุงพัฒนามาโดยตลอด ซึ่งไม่อาจจะหาข้อเท็จจริงได้ จึงขอเล่าเฉพาะที่หาหลักฐานว่าคงจะมีการปรับในปัจจุบันเท่านั้น ดังมีรายละเอียดต่อไปนี้ พ.ศ. ๒๔๖๘ ได้มีพระอธิการแสง สุรินโท เจ้าอาวาสวัดป่าเปาร่วมกับ “ขุนคชสนานคามรักษ์” ตำแหน่งกำนัน ตำบลแช่ช้าง และผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ ๓ คือ นายหม่อง นางก๋อง สุทธสม ได้ร่วมกันขุดบ่อน้ำและสร้างศาลาที่พัก ๑ หลัง พร้อมทั้งได้ร่วมกับคณะศรัทธาป่าเปาช่วยกันถากถางทำทางขึ้นจนถึงยอดดอยงู (คำว่า “ดอยงู” คงจะมาจาก งูใหญ่ ตามตำนานเล่าขานว่าพญานาคราชก็หมายถึงงูใหญ่ นั่นเอง) พ.ศ. ๒๕๒๐ ทางผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ ๒ (ม่วงชุม) คือ นายเงา ตันปัญญา ได้นำราษฏร ทั้งหมู่ ๒ และหมู่ที่ ๓ ซึ่งเป็นคณะศรัทธาวัดป่าเปาได้ร่วมกันทำถนน โดยขอความร่วมมือจากเจ้าของที่ดินหลายท่านในการทำถนนครั้งนี้ ชาวบ้านช่วยกันทำโดยใช้จอบ (ขอบ๊ก) ช่วยกันทำและปรับแต่งแนวถนน เพื่อจะให้รถยนต์วิ่งได้โดยสะดวก ใช้งบประมาณ ๗.๐๐๐ บาท (เจ็ดพันบาท) เท่านั้นได้ระยะทางประมาณ ๑,๕๐๐ เมตร (หนึ่งพันห้าร้อยเมตร) พ.ศ.๒๕๓๒ ผู้มีจิตศรัทธาได้นำพระพุทธรูปทองคำสัมฤทธิ์ หน้าตักกว้าง ๑.๕๐ เมตร มาถวายเพื่อเป็นพระประธาน คือ คุณไพโรจน์ อ่วมใจหนัก จากกรุงเทพมหานคร โดยการแนะนำของกำนัลอนิรุทธิ์ นางจรัศ อารยรุ่งโรจน์ (แก้วน้อย) นอกจากถวายพระประธานแล้วนำพระประธานขึ้นประดิษฐานพร้อมกับงูทองเหลืองอีก ๒ ตัว เพื่อไว้เป็นที่สักการะตามชื่อของ “ดอยงู” สืบๆมาในการนำพระประธานขึ้นประดิษฐานไว้บนดอยงูครั้งนี้ เนื่องจากยังไม่มีถนนขึ้นบนยอดดอย จึงใช้วิธีขอความร่วมไม้ร่วมมือ ขอแรงสามัคคีจากคณะศรัทธาวัดป่าเปา ช่วยกันใช้สายผูกเชือกมัด แล้วรองด้วยยางรถยนต์ขนาดใหญ่แล้วออกแรงชักลากทีละน้อย ใช้เวลาพอสมควร จากเชิงดอยข้างล่างจนถึงยอดดอยด้วยความยากลำบาก จนสำเร็จได้ ด้วยพลังความสามารถความสามัคคี พ.ศ. ๒๕๓๗ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ ๒ พ่อหลวงอุม ปาลี และผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ ๓ พ่อหลวงบุญมี สุรินต๊ะ ช่วยกันทำโครงการตัดถนนและเทคอนกรีตเสริมไม้ไผ่เป็นระยะทาง ๓๐๐ เมตร พ.ศ. ๒๕๕๒ วันที่ ๑๓ สิงหาคม ได้มี คุณอายุธ นาครทรรพ จากกรุงเทพมหานครได้ แสดงความจำนง จำเอาพระพุทธรูป ปางประทับยืนนาคปรก สูง ๓.๙๐ เมตร มาตั้งประดิษฐานไว้บนดอยงู ก่อนจะนำพระพุทธรูปมาไว้ได้ให้ช่วงมาปิดทอง (จังโก) รอบองค์พระเจดีย์ธาตุเหลืองงามตามใช้งบประมาณ ๒๔๘,๐๐๐ (สองแสนสี่หมื่นแปดพันบาทถ้วน) จนเรียบร้อยถึงทุกวันนี้ฯ เท่าที่เคยได้ยินผู้เฒ่า,ผู้แก่,ผู้สูงอายุเล่าขานว่า แต่เดิมทีเคยเห็นปากถ้ำอยู่ทางทิศเหนือของดอยงู และมีต้นไม้ “ตะเคียนคู่” สูงใหญ่มากอยู่ใกล้ๆปากถ้ำ ปัจจุบันนี้ทั้งต้นไม้ตะเคียน และถ้ำมีเพียงร่องรอยเท่านั้นส่วนปากถ้ำก็มีหินใหญ่ ๒ ก้อนปิดทับไว้ โดยมีพระศรีมหาโพธิ์ แซกออกตรงกลางหว่างหินดูน่าอัศจรรย์ยิ่ง ส่วนต้นไม้ตะเคียนคู่ได้แห้งตายลง ทางคณะศรัทธาวัดป่าเปาทุกท่านเห้นพ้องต้องกันตกลงในที่ประชุมใหญ่ ได้ให้ช่างไม้เลื่อยทำเป็นแผ่น เพื่อนำมาใช้ก่อสร้างศาสนาวัตถุในวัดต่อไป นอกจากนี้แล้ว ผู้สูงอายุยังเล่าขานต่อไปว่า “เคยเห็นแสงพระธาต” ลอยจากดอยงูมาที่วัดป่าเปาเสร็จแล้วกลับลอยไปที่ดอยงูเหมือนเดิม ตรงกับคืนวันพระที่สำคัญๆ ในทางพระพุทธศาสนา (ศีลใหญ่ – ศีลสำคัญ) เช่น วันมาฆบูชา,วันวิสาขบูชา เป็นต้น เพราะฉะนั้น แสดงให้เห็นว่า “ดอยงูเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์” น่าเคารพสักการะและบูชาอย่างยิ่ง จึงขอเชิญชวนทุกท่าน ไปเคารพสักการะบูชา เพื่อให้เกิดศิริมงคลแก่ชีวิตและครอบครัวสืบต่อไปฯ คำกลอน ตามตำนาน ผ่านมา น่าคิดอยู่ เรื่องดอยงู เข้าที มีแก่นสาร ท่านพากเพียร เขียนไว้ ในใบลาน เป็นตำนาน น่าเคารพ นบบูชา เท่าที่เห็น เป็นของดี ที่ศักดิ์สิทธิ์ รวมความคิด รวมจิตใจ ได้แน่นหนา ไม่เคยละ ประเพณี มีเรื่อยมา มวลศรัทธา วัดป่าเปา เราภูมิใจ ขอเชิญชวน มิตรแท้ ทุกทิศา สร้างศรัทธา ร่วมกัน อย่าหวั่นไหว เพิ่มบุญญา บารมี ที่เกรียงไกร เพื่อจะได้ ก้าวหน้า สถาพร ขออ้างอิง สิ่งศักดิ์สิทธิ์ มีฤทธิ์กล้า ม่อนศิลา หรือดอยงู สู่สิงขร โปรดมาช่วย อวยชัย ให้แน่นอน ดับทุกข์ร้อน ให้ร่วมเย็น เป็นสุขเอย......... ตำนาน พระมหาอุปคตเถรเจ้า (“ปราบมาร”) “พระมหาอุปคตเจ้า” เป็นพระอรหันต์ที่มีฤทธิ์อำนาจในทางปราบมาร , บันดาลโชค นามของพระอุปคุต แปลว่า “ผู้ที่คุ้มครองรักษา” พระมหาอุปคุตท่านชอบความวิเวก ท่านจึงเข้านิโรธสมาบัติจำพรรษาอยู่ในกุฏิเรือนแก้วกลางสะดือทะเล พระมหาอุปคุตเจ้าเป็นพระอรหันต์ที่ทรงมหิทธานุภาพมากเป็นศิษย์ของ “พระมหากัสสปะ” พระมหาอุปคุตเจ้าเกิดในตระกูล พ่อค้าขายเครื่องหอม อยู่ที่เมือง มถุรา แคว้นสุรเสนะบนฝั่งแม่น้ำ ยมุนา ตอนนั้น อุปคุตได้มาช่วยบิดาขายเครื่องหอมอยู่ที่ตลาดก็ปรากฏว่า เครื่องหอมขายดิบขายดีเป็นเทน้ำเทท่า ผู้คนมาซื้อหากันไม่ขาดสาย นี่เป็นปกติธรรมดาของผู้ที่มีบุญ ไปที่ไหนทรัพย์สินก็จะหลั่งไหลมาด้วยอำนาจบุญ เพราะฉะนั้นจึงมาความเชื่อกันว่า ผู้ที่ทำการค้าขายหากมีพระมหาอุปคุตเถรเจ้าไว้บูชาประจำร้านค้า และบูชาทุกเช้าตอนเปิดร้านก้จะทำให้ค้าขายดี มีคนมาซื้อไม่ขาดสาย ทรัพย์สินก็จะหลั่งไหลมา ก่อการเจริญก้าวหน้าเป็นปึกแผ่นมั่นคงตลอดไปฯ ส่วนการปราบมาร ของพระมหาอุปคุตเถรเจ้านั้น ครั้งเมื่อพระเจ้าอโศกมหาราชทรงนับถือ พระพุทธศาสนาทรางได้สร้างพระวิหาร และพระสถูปบรรจุพรมสารีริกธาตุแล้วเสร็จ ได้มีการสมโภชน์ครั้งใหญ่ตลอด ๗ ปี ๗ เดือน ๗ วัน แล้วได้นิมนต์พระมหาอุปคุตเถรเจ้ามาคุ้มครองงานให้ปราศจากอุปสรรค ครั้งนั้น “พญามารรสวดีมาร” ได้มุ่งทำลายงานสมโภชน์ พระมหาอุปคตเถรเจ้าได้ปราบมารจนสิ้นฤทธิ์ และอธิฐานประคตเอว เป็นโซ่มัดพญามารรสวดีติดกับภูเขาไว้จนทำให้งานสำเร็จด้วยดี ด้วยปฏิหารปรากฏครั้งว่า ผู้ที่มีพระมหาอุปคตเถรเจ้าบูชาอยู่กับตัว จะแคล้วคลาด , ปลอดภัย , คงกระพันชาตรี , มหาอุด , และโชคลาภ , เมตตามหานิยม จึงทำให้มีผู้แสวงหา พระมหาอุปคุตเถรเจ้ามาสักการะบูชากันอย่างแพร่หลาย ปัจจุบัน ยังมีความเชื่อว่า พระมหาอุปคุตเถรเจ้ายังมีชีวิตอยู่ในทุกวันเพ็ญ ขึ้น ๑๕ ค่ำ ตรงกับวันพุธ (เป็งพุธ) ชาวบ้านล้านนาเรียกว่า “วันเป็งพุธ” พระมหาอุปคตเจ้า จะออกบิณฑบาตรเวลากลางคืน ทำให้เกิดเป็นประเพณีตักบาตรกลางคืนขึ้น ด้วยข้าวสาร , อาหารแห้ง , ดอกไม้ธูปเทียน เชื่อว่าผู้ใดใส่บาตรพระอรหันต์ แห่งการปกครอง พร้อมทั้งได้ปราบมารบันดาลโชค ได้คัดสารพิมพ์ที่สวยงาม โดยมีลักษณะพิเศษรุ่งเรือง ร่างนี้คือ ลักษณะของปรางค์นี้ มือขวาได้ล้วงลงหยิบข้าวในบาตรเพื่อจะฉัน อันเป็นนิมิตหมายให้แก่ผู้ที่บูชา มีความอุดมสมบูรณ์ , มีกิน , มีใช้ตลอดกาล ฐานองค์พระได้จำลองขณะที่ท่านจำพรรษาใต้กลางสะดือทะเลมหาสมุทร ประกอบด้วย “ดอกบัว” หมายถึง ความสดชื่นแจ่มใสเบอกบานงอกงามแห่งชีวติ “รูปเต่า” คือ อายุ หมายถึง ความมีอายุยืนนาน “รูปปู” คือ วรรณะ หมายถึง ผิวพรรณผ่องใสสวยงามเหมือนกับมันปู “รูปปลา” คือ สุขะ หมายถึง ความสุขตัวปลาที่สามารถแหวกว่ายได้อย่างอิสระ รูปหอย คือ พละ หมายถึง มีพละกำลังดังหอยที่สามารถขึ้นสูงที่สุด ??